Chemical Oxygen Demand (COD) คือปริมาณของออกซิเจนที่ใช้เพื่อทำให้สารปนเปื้อนในน้ำเช่นสารอินทรีย์ออกซิไดซ์ทางเคมีไปยังผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายที่เป็นอนินทรีย์ เป็นตัวชี้วัดคุณภาพน้ำและน้ำเสีย การทดสอบ COD ใช้เพื่อติดตามประสิทธิภาพของโรงบำบัดน้ำ เป็นค่าที่บอกคุณภาพของน้ำ
กล่าวโดยสรุปคือค่า COD สามารถอธิบายได้อย่างง่ายว่าเป็นตัวชี้วัดคุณภาพน้ำและน้ำเสีย การทดสอบ COD ใช้เพื่อติดตามประสิทธิภาพของโรงบำบัดน้ำ เป็นค่าที่บอกคุณภาพของน้ำ แสดงความสกปรกของน้ำเสียจากบ้านเรือน
การวัดค่า Chemical Oxegen Demand จะทำโดยใช้ COD Meter กับตัวอย่างน้ำเสียหรือน้ำธรรมชาติที่ปนเปื้อนจากของเสียในครัวเรือนหรือของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
หน่วยการวัดค่า COD คือ
โดยทั่วไปจะแสดงเป็นมวลของออกซิเจนที่ใช้ไปในปริมาตรของสารละลาย ซึ่งในหน่วย SI คือ
มิลลิกรัมต่อลิตร (มก./ลิตร) mg/L หรือ ppm
มาตรฐาน COD ในประเทศไทย
โดยค่าซีโอดีมาตรฐานห้ามเกิน 120 mg/l ตามวิธีการ Potassium Dichromate
ดัชนีคุณภาพน้ำ | ค่ามาตรฐาน | วิธีการวิเคราะห์ |
---|---|---|
ค่าซีโอดี (Chemical oxygen demand) | ไม่เกิน 120 มิลลิกรัมต่อลิตร | ย่อยสลายโดยใช้โพแทสเซียมไดโครเมต |
ความแตกต่างระหว่าง COD และ BOD
การทดสอบ COD ใช้เวลาเพียง 2-3 ชั่วโมง ในขณะที่การทดสอบความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมี (หรือชีวภาพ) (BOD) ใช้เวลา 5 วัน ซึ่ง BOD จะวัดสารปนเปื้อนอินทรีย์ทั้งหมด รวมทั้งสิ่งที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
ผลการทดสอบ COD สามารถใช้เพื่อประเมินน้ำตัวอย่างในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นพิษ (เช่น โลหะหนักและไซยาไนด์) ดังนั้นการทดสอบ COD จึงสามารถใช้เพื่อวัดความรุนแรงของของเสียที่เป็นพิษเกินไปในโรงงานอุตสาหกรรม
ส่วนค่าบีโอดี (BOD) ต้องใช้จุลินทรีย์คือแบคทีเรีย (bacteria) ในการย่อยสลาย
เพื่อความเข้าใจมากขึ้นสำหรับค่าบีโอดี (BOD) แนะนำให้ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ Biochemical oxygen demand (BOD) คือ
ขั้นตอนการวัดค่า COD
- เตรียมสาร
- ให้ความร้อนด้วยเครื่อง Tube Heater 150C เป็นเวลา 2 ชั่วโมง
- นำไปอ่านค่าด้วยเครื่อง COD Meter
*** รายละเอียดการใช้งานอาจแตกต่างกันไปตามรุ่นและแบรนด์ของเครื่องวัด